อัลบัม

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550

ความคิดในการทำเว็บ

เมื่อคิดจะทำเว็บ



การทำเว็บมีประโยชน์ต่อธุรกิจหรือส่วนตัวเป็นอย่างมาก แต่ในเมืองไทยร้านค้าหรือบุคคลมีเว็บไม่มาก ในต่างประเทศแล้วเกือบทุกคนมีเว็บ หากดูในใบสมัครงาน หรือเอกสารต่างๆ นอกจากจะมีช่องให้กรอก ชื่อ และที่อยู่จะมีช่องให้กรอกเว็บไซค์ส่วนตัวด้วย
คนไทยไม่ทำเว็บเนื่องจากกลัวว่าจะแพง หรือจะยาก ซึ่งอาจเป็นจริงในสมัยก่อน ในยุคนี้แล้วด้วยประสพการณ์จริงแล้วการทำเว็บไม่แพง และไม่ยาก อยากแบ่งปันความรู้และช่วยท่านให้ทำเว็บเช่นเดียวกับที่ผมทำอยู่ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
เพื่อนทำใบปลิวเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าราคา 8 บาทต่อใบ และจ้างคนแจก รวมๆแล้วไม่ต่ำกว่า 10 บาทต่อการทำให้ผู้คนเห็นสินค้าหนึ่งคน แต่คนที่เห็นก็อาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลัก ทำให้สูญเสียเงินจำนวนมากกับคนที่ไม่ใช่ลูกค้า
หากทำเว็บแล้วจ้าง Google ให้โฆษณาให้ เขาจะเสียเงินเพียง 2 บาทต่อลูกค้าหนึ่งคน ซึ่งเป็นลูกค้าที่มีความต้องการสินค้านั้นเท่านั้น เพราะเมื่อลูกค้าหาสินค้าใน Google เขาจะเห็นสิงค้าหรือบริการของเรา และหากเขาดูแล้วไม่สนใจเราไม่ต้องเสียเงิน หากเขาสนใจและคลิกเพื่อเข้ามาดูรายละเอียดในเว็บไซร์ของเรา เราจึงจะเสียเงิน 2 บาท(0.05 USD)ให้ Google ซึ่งเราสามารถให้รายละเอียดสิงค้าและบริการได้ชัดเจน และจุใจ ตลอดจนให้ราคาและสั่งซื้อได้เลย เว็บจึงเป็นการเพิ่มช่องทางขายที่มีประสิทธิภาพราคาถูกมากกว่าโฆษณาทุกประเภท
การทำเว็บสมัยก่อนคุณต้องจ้างคนทำเนื่องจากเครื่องมือสมัยนั้นใช้งานยาก ในปัจจุบันนี้เครื่องมือต่างๆใช้งานง่ายขึ้นจนคุณ หรือลูกคุณ หรือลูกน้องคุณสามารถทำเว็บได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเสียเงินจ้างคนอื่นให้เสียเงิน และเพิ่มความยุ่งยากในการติดต่อ เพียงแต่ต้องเสียเวลาในการศึกษาเบื้องต้น 4-8 ชั่วโมง โดยเราได้จัดเตรียมการสอนบนเว็บไว้ให้หลายรูปแบบ ทั้งเป็นหน้าเว็บ เป็น VDO ตลอดจนให้คำปรึกษาและซักถามได้แบบตัวต่อตัว ไม่ต้องกลัวว่าไม่มีพื้นฐานจะทำไม่ได้ และไม่ต้องกลัวว่าจะแพง ค่าใช้จ่ายในการทำเว็บคุณเพียงต้องเช่า Host ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรายเดือนราวๆ 100-300 บาท และเสียค่า Domain Name ราวปีละ 350 บาท ส่วนค่าทำไม่ต้องเสียทำเองได้ไม่ยาก

ทำเว็บฟรี มีจริงๆ
การทำเว็บแบบฟรีๆ
การทำเว็บมีทั้งแบบเสียเงินมากๆ จนไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียว จะทำแค่ Intranet ใช้เงินลงทุนไปเกือบล้านบาทกับโปรแกรมทำเว็บ เรื่องของคนมีเงิน คนทั่วไปทำเว็บต้องเสียเงินค่าจ้างทำเว็บ เสียเงินเป็นหมื่น และยังเสียเงินค่า Domain Name และเสียเงินค่าเช่า Host และยังเสียเงินค่าดูรักษาอีกต่างหาก สำหรับไม่เสียค่าจ้างทำเว็บ แต่ก็ยังเสียเงินค่า เช่า Host เดือนละ 300 บาท และค่า Domain Name อีกปีละ 450 บาท แต่วันนี้ผมจะมาเสนอวีธีทำเว็บที่ฟรีทุกๆอย่าง ตั้งแต่ ค่าทำเว็บ ค่า Domain Name จนถึง Host เริ่มจากค่าจ้างทำเว็บ ท่านสามารถประหยัดได้หากมีพนักงาน หรือ ลูกของท่าน หรือตัวท่านเอง ที่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เล็กๆน้อย เช่น พอท่อง Internet เป็น ใช้ MSN ได้ และ รู้จักวิธีส่ง Email ท่านก็มีคุณสมบัติในการทำเว็บแล้วเพราะ โปรแกรมที่ช่วยทำเว็บสมัยนี้ใช้งานง่ายมากทาง http://www.nolkek.com/ ก็สนับสนุนการทำเว็บด้วยตัวเอง โดยการสอนและให้คำปรึกษา หากท่านอ่านบทความในเว็บนี้ ดู VDO สาธิต และทดลองทำตามโดยเรามีเว็บให้ท่านหัดทำเองฟรีๆ ท่านก็จะได้เห็นด้วยตัวเองว่าการทำเว็บไม่ใช่เรื่องยาก และจะได้เว็บที่ทำด้วยมือตัวเอง ไม่ต้องจ้างใคร ดูแลเว็บได้ด้วยตัวเอง นอกจากทำเว็บฟรีเองฟรีแล้วเดี๋ยวนี้มี Domain Name แจกฟรีด้วย แต่ไม่ใช่ .COM หรือ .CO.TH มันเป็น .CO.NR ก็ทดลองใช้ทำเว็บ http://www.noklek.co.nr/ หากสนใจลองคลิกเข้าไปดู จะอธิบายรายละเอียดไว้ หากไม่พอใจยังมีอีกหลายที่ เช่น http://www.global.net.uk/domain-name.asp ฯลฯ ซึ่งค้นได้ทาง Google นะ เรื่อง Host ก็มีฟรี และเยอะด้วย ยกตัวอย่างเช่น http://www.110mb.com/ นอกจากนั้น หากไม่พอใจหาได้ใน http://www.find-hosting.net/ มีให้เลือกเพียบ
ผู้ให้บริการบางแห่งหากเราเช่า Host กับเขา จะให้ Domain Name ฟรี เนื่องจากค่า Host แพงกว่า Domain Name มาก แต่ตอนนี้มีผู้ให้บริการบางราย ให้ Host ฟรีหากซื้อ Domain Name กับเขา เท่ากับเราเสียค่า Domain Name วันละบาท แต่ได้ Host ฟรี ซื้อ Domain Name กับ http://www.godaddy.com/ เขาแถม Hosting ฟรีขนาด 5 GB หากเช่าในไทยขนาด 5 GB อาจเป็นพันบาทต่อเดือน และ มีบริการลงโปรแกรมพวกฟรี CMS เช่น Dotnetnuke, Joomla ฯลฯ ฝ่านทาง Control Pannel แค่คลิกสองสามครั้งก็ลงเสร็จ ไม่ต้องปวดหัวกับการลงโปรแกรม จะลงแล้วลบทิ้งกี่รอบก็ได้ เสียอย่างเดียวมีโฆษณาที่หัว และมีบอกว่าเป็น Free Host จาก Godaddy นอกจากนั้นก็มี http://www.pureportals.com/ ต้องลองเองนะครับ ผมเองก็ยังไม่เคยลอง
ข้อควรระวังเกี่ยวกับของฟรีเหล่านี้คือ เขามักมีเงื่อนไขในการให้บริการ ที่เป็นภาระของเราเช่น ให้ดูโฆษณา หรือบางที่ก็หยุดให้บริการไปเฉยๆเมื่อไหร่ก็ได้เพราะเขาอาจไม่มีรายได้จึงอาจไม่มีเงินพอดำเนินการ ต้องอ่านเงื่อนไขให้ละเอียดนะครับก่อนใช้บริการ


ขั้นตอนการทำเว็บ

ใช้เทคโนโลยี CMS ทำให้การทำเว็บเป็นเรื่องง่าย และรวดเร็ว โดยมีขั้นตอนต่อไปนี้
- ศึกษาวีธีใช้ Dotnetnuke ในเว็บซึ่งมีทั้งเป็นหนังสือ เป็นเว็บ และเป็น VDO
- ทดลองทำจริงด้วยเว็บที่มีให้ทดลองทำ
- หากมีคำถามก็ติดต่อสอบถามได้หลายทาง เช่น Feed Back ฯลฯ
- เมื่อมีความมั่นใจแล้วก็หา Domain Name และ Host เพื่อสร้างเว็บจริง


ความรู้ที่จำเป็น
เนื่องจากการปรึกษาหารือและการสอนเป็นการดำเนินการทางไกล เราจะเริ่มจากการปูพื้นฐานให้คุณมีความรู้เรื่องเครื่องมือสื่อสารและการสอนทางไกล ดังต่อไปนี้

สามารถใช้ Browser ได้
สามารถใช้ Email ได้
สามารถใช้ MSN ได้
สามารถใช้ Team Talk ได้
สามารถใช้ Skype ได้(ไม่จำเป็น)
สามารถใช้ SkyFex ได้ (ไม่จำเป็น)

ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำการสอนให้ เพื่อเป็นกุญแจไขสู่ความรู้อื่นๆและการ Support ทางไกล
ตอนนี้ยังไม่รู้ไม่เป็นไร ขอมันเรียนกันได้ไม่ยาก
กำลังจะเตรียมคู่มือการสอนทางไกลสำหรับเรื่องเหล่านั้นอยู่





จากคำถามที่ว่า "เราจะนำมัลติมีเดียมาช่วยพัฒนาเว็บไซท์ได้อย่างไร" เว็บไซท์เป็นส่วนหนึ่งของมัลติมีเดียอยู่แล้ว มัลติมีเดียไม่ได้มีความหมายมากกว่าแค่ตัว "มีเดีย" หรือรูป เสียง ภาพเคลื่อนไหว เท่านั้น อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ เข้าใจกัน แต่ยังรวมถึงวิธีการเก็บรักษา การเรียกค้นและการนำเสนอด้วย ดังนั้นเว็บไซท์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการนำเสนอชนิดหนึ่ง เว็บไซท์จึงรวมเป็นส่วนประกอบของมัลติมีเดียด้วย แล้วทำอย่างไรเว็บไซท์ที่มีข้อความเป็นส่วนใหญ่ จะมีความน่าสนใจ เพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีของมัลติมีเดียในปัจจุบัน"
องค์ประกอบของเว็บไซท์ที่น่าสนใจ
พวกเราลองเข้าไปดูเว็บไซท์ประเภท "ชื่อดัง" "ยักษ์ใหญ่" หรือ "ทุนหนา" แล้ว เราจะพบว่า องค์ประกอบสู่ความสำเร็จ ขั้นพื้นฐานซึ่งจำเป็นต้องมีจะเหมือนกัน ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 หัวข้อย่อยคือ
1. ความสมบูรณ์ของเว็บไซท์
2. วิธีการนำเสนอข้อมูล
1. ความสมบูรณ์ของเว็บไซท์
ก่อนอื่น ปัญหาที่หนึ่งสำหรับเว็บมาสเตอร์คือ "ผู้ใช้จะได้ประโยชน์อันใดในการเข้ามาเยี่ยมเว็บของเรา" จึงจะนำมาสู่ปัญหา ที่สองคือ "เรามีสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการอยู่หรือเปล่า" สองคำถามนี้เป็นสองคำถามหลัก ก่อนที่เราจะต้องไปนึกถึงว่าจะใช้ระบบ ปฏิบัติการเป็น Linux หรือ Windows 2000 หรือจะใช้อะไรดีระหว่าง Dreamweaver หรือ FrontPage ซึ่งน่าจะเป็นประเด็น เกือบจะท้าย ๆ แล้วสำหรับการสร้างเว็บไซท์ แต่ผู้เริ่มต้นส่วนใหญ่มักพิจารณาส่วนนี้เป็นประเด็นแรก
เว็บไซท์ที่สมบูรณ์ประกอบด้วยสองส่วนหลักคือ ข้อมูล และเครื่องมือ โดยทั่วไปการอ่านข้อมูลของผู้ใช้มีสองลักษณะ คือผู้ใช้อ่านข้อมูลที่เขาต้องการอ่าน กับผู้ใช้อ่านข้อมูลที่เราต้องการให้อ่าน การอ่านของผู้ใช้แบบแรกเป็นการที่ผู้ใช้เป็น ผู้สืบค้นข้อมูลเอง เพื่อจะได้ข้อมูลที่ต้องการนั้นไปประกอบการงานอื่น ๆ เช่น การสืบค้นข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัด ต่าง ๆ ส่วนแบบที่สองเป็นการเสนอเชิงประชาสัมพันธ์หรือข่าว เช่น การประกาศ การวางตลาดของสินค้าใหม่ ทั้งสองแบบ ของการอ่านมีลักษณะสุดท้ายเหมือนกันคือผู้ใช้ได้อ่าน
ขอยกตัวอย่างชนิดของข้อมูลทั้งสองอย่างข้างต้นด้วยเว็บไซท์ของบริษัทนำเที่ยว ข้อมูลที่ผู้ใช้อ่านอาจเป็นรายละเอียด การท่องเที่ยวพอสังเขป ส่วนข้อมูลที่เขาอยากให้ผู้ใช้อ่านคือโปรแกรมการท่องเที่ยวและรายละเอียดอื่น ๆ ของบริษัท ถามว่าถ้ามองในกรณีนี้ความพร้อมของข้อมูลควรเป็นอย่างไรถึงจะเรียกว่าพร้อม ในกรณีนี้เราคงไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยวมากนัก เพียงแนะนำสถานที่ต่าง ๆ พอสังเขปก็พอ การใส่ข้อมูลโดยละเอียดอาจนำไปสู่ "ความไม่อยากรู้ไม่อยากเห็น" ในสถานที่ท้องเที่ยวที่เรานำเสนอ และอาจพาลไม่อยากเที่ยว แต่เราควรเสนอความพร้อม ในการบริการของบริษัทของเราว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลานานมีบริการต่าง ๆ ครบวงจร มีโปรแกรม ในการท่องเที่ยวให้เลือกมากมาย เพราะผู้ใช้บริการทัวร์คงไม่มีรายใดที่ต้องการให้บริษัททัวร์เอาไปปล่อยเกาะ
สิ่งที่ต้องการกล่าวถึงในที่นี้ก็คือข้อมูลที่พร้อมจะต้องเป็นข้อมูลที่นำเสนอความพร้อมของ "สินค้า" และ "บริการ" ของ บริษัท ไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ ความพร้อมของข้อมูลจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์ แต่เป็น ข้อมูลที่พร้อมแสดงศักยภาพของสินค้าของบริษัทเรามากกว่า
ทีนี้ผู้อ่านคงนึกถึงเว็บไซท์ไม่มีผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเองจะทำอย่างไรคำตอบก็คือ ไม่มีเว็บไซท์ใดที่ไม่มีผลิตภัณฑ์เป็น ของตนเอง แม้กระทั่งเว็บไซท์บุคคล ผลิตภัณฑ์ในที่นี้รวมเรื่องของบริการเข้าไปด้วย เว็บไซท์อย่าง Yahoo ซึ่งไม่มีสินค้า ยี่ห้อ Yahoo มาวางตลาด แต่เขาขายบริการในการทำ Catalog เพื่อให้บริษัทอื่น ๆ มาลงโฆษณา เว็บไซท์ข้อมูล ส่วนตัวของคุณ สินค้าก็คือตัวคุณเองนั่นแหละ (ถ้าไม่ใช้ โฆษณาทำไม)
จากสองประโยคคำถามข้างต้นที่เราใช้ในการตั้งสมมติฐานที่ว่า "ผู้ใช้จะได้ประโยชน์อะไร" เราคงต้องการมาที่ข้อสรุป นิดนึงโดยการเปลี่ยนประโยคคำถามข้างต้นเสียใหม่เป็น "ผู้ใช้ได้ประโยชน์อะไรจากเว็บไซท์ของเรา" จากนั้นคิดต่อไป เรื่อย ๆ เราก็จะได้ข้อสรุปที่เราต้องการก็คือข้อมูลจะพร้อมต้องมีอะไรบ้างนั่นเอง ปรัชญาการคิดแบบนี้จะนำเราไปสู่ การมีข้อมูลที่พร้อมต่อการนำเสนอของเว็บไซท์ของเรา อย่างไรก็ตาม การใคร่ครวญคิดไม่ใช่เรื่องง่าย และใช้เวลา ขอแนะนำให้ไปดูเว็บไซท์ที่ทำธุรกิจแบบเดียวกันกับของเราแล้วนำมาพินิจพิเคราะห์ดูว่า ข้อมูลที่เรามีเหมาะสมหรือไม่ เมื่อดูจากหลาย ๆ ที่ก็นำมาประมวลดูว่าเว็บของเรามีหรือไม่มีอะไร และอะไรบ้างที่ควรจะเพิ่มเติม สุดท้ายเว็บไซท์ ของคุณก็จะเป็นเว็บที่น่าอ่าน และก็จะได้ไม่ต้องติดป้าย "Under Construction" อันน่าเบื่อไว้ด้วย
ส่วนที่สองของความพร้อมของเว็บไซท์คือ "เครื่องมือ" ที่มีให้ หลังจากที่เรามีข้อมูลแล้ว เราก็เหมือนมีหนังสือที่ไม่มี เลขหน้า ไม่มีสารบัญ ทำให้ยากต่อการเข้าถึงข้อมูล สิ่งที่ควรมีอย่างยิ่งในเว็บไซท์ก็คือ การนำไปสู่ข้อมูลอันประกอบ ด้วยสารบัญซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของเมนูหรือแคตาล็อก หรือแบบอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านหัวข้อหลัก ไปยังหัวข้อย่อย ๆ หรือตัวสืบค้น (Search Engine) สำหรับสืบค้นข้อมูลตามคำเรียกค้นของผู้ใช้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเว็บไซท์ที่มีข้อมูลขนาดใหญ่มาก ทั้งสองตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซท์
นอกจากนี้เครื่องมือตัวอื่น ๆ ที่มีความสำคัญรอง ๆ ลงไปหรืออาจจำเป็นสำหรับบางเว็บไซท์ที่เราควรพิจารณาได้แก่ กระดานข่าว (Web board) กระดานข่าวนี้มีทั้งประโยชน์และปัญหา ประโยชน์คือเป็นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกขององค์กรนั้น ๆ ปัญหาคือข้อมูลบนเว็บบอร์ดมีความเชื่อถือได้น้อย เนื่องจากยากที่จะระบุได้ว่าใครเป็นผู้ใช้ ข้อความบนกระดาน ขอเสนอว่าควรมี 2 กระดาน โดยกระดานหนึ่งเป็นกระดานอิสระ อีกกระดานเป็นกระดานที่มีการกรอง ข้อความ (กรองนะ ไม่ใช่เซ็นเซอร์) อย่างที่สองที่ควรพิจารณาคือ Web Mail คือเว็บแบบเดียวกับ Hotmail แต่ทำ เฉพาะองค์กรของเราเท่านั้น ข้อดีคือเราสามารถควบคุมความปลอดภัยในการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานให้ดี ขึ้น (จะกล่าวถึงเมื่อมีโอกาส ) อย่างที่สามคือการรับสมัคร mailing list เพื่อรับสมัครสมาชิกเพื่อแจ้งข่าวสารความ เคลื่อนไหวเฉพาะเรื่อง อย่างสุดท้ายคือ Download เนื่องจากผู้ใช้ชอบโหลดโปรแกรมฟรีหรือโปรแกรมที่จำเป็น ของหน่วยงานไปใช้ ก็น่าจะมีบางอย่างที่เราให้ผู้ใช้ของเรารู้สึกว่าเว็บของเราเป็นมิตรที่ดี มีของฟรีได้ใช้ สังเกตดูซิ เว็บไซท์ไหน ๆ ก็มีให้โหลดทั้งนั้น
สรุปกว้าง ๆ ก็คือ เมื่อจะต้องสร้างเวํบ ต้องถามและตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า ได้ประโยชน์อันใดแก่องค์กรของเรา จากนั้น ก็หาข้อมูลและเครื่องมือที่เหมาะสมมาทำให้เว็บไซท์ของเราสมบูรณ์
2. วิธีการนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลบนเว็บนี้ที่จริงเป็นเรื่องต่อเนื่องมาจากข้อแรกที่จะหาข้อมูลที่เหมาะสมมาใส่ไว้บนเว็บ อย่างแรกที่สุด คือสิ่งที่เว็บในเมืองไทยนำไปใช้น้อยไปหน่อย นั่นคือ Hypertext คือจริง ๆ การใช้เว็บนี้ก็เป็น Hypertext อยู่แล้ว แต่ เราใช้น้อยเกินไป ขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับข่าวกีฬา สมมติว่าเป็นเรื่องผลการแข่งขันฟุตบอลระหว่างแมนยูกับลิเวอร์พูล ในเนื้อข่าวก็คงมีการเอ่ยชื่อถึง เดวิด เบ็คแฮม ไมเคิล โอเว่น ทีมแมนยู และทีมลิเวอร์พูล ในเนื้อความของข่าว ผู้อ่าน ทั่วไปคงรู้ประวัติของนักเตะชื่อดังทั้งสองเป็นอย่างดี แต่ถ้าในเนื้อข่าวมี Link จากชื่อของนักเตะไปยังโฮมเพจเพิ่มขึ้น หรือถ้าเป็นกีฬาบาสเกตบอล ขอให้ลองเปิดเว็บไซท์ของ NBA (www.nba.com) ซึ่งเป็นเว็บที่จัดได้ว่าเป็นเว็บที่สมบูรณ์ และทันการณ์ในการนำเสนอข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็น "Fact" หรือข้อมูลพื้นฐาน เช่น ประวัตินักกีฬา หรือประวัติทีม ข้อมูลที่เป็นสถิติ เช่น ความสามารถในการทำคะแนนของนักกีฬา และผลการแข่งขัน รวมทั้งข้อมูลที่เป็นสถิติ เช่น ความสามารถในการทำคะแนนของนักกีฬา และผลการแข่งขัน รวมทั้งข้อมูล "on-line" สำหรับรายงานผลการแข่งขัน และสถิติโดยละเอียดของการแข่งขัน ต้องลองดูตัวอย่างช่วงที่มีการแข่งขันนะ จะเป็นตัวอย่างที่ดีมากสำหรับเว็บ เกี่ยวกับกีฬา (ข้อมูลการแข่งขันของ NBA มีมากพอที่จะนำมาใช้วางแผนการเล่นได้เป็นอย่างดี โดยมีข่าวเมื่อ 2-3 ปีนี้ว่า มีการใช้เทคนิคของ DataMining มาใช้ในการช่วยวางแผนการเล่นแบบ real-time เช่น กรณีการเลือกตัวผู้เล่นที่เหมาะสม หลังจากดูแล้วว่าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมีใครในสนามแข่ง และแต้มคะแนนตามอยู่เท่าไร)
นอกเรื่องไปเยอะ กลับมาเรื่อง Hypertext ดีกว่า หลักการของการทำมีดังนี้
การอ้างอิงการ Hypertext จะไม่ทำกับทุกที่ในหน้าเดียวกัน แต่จะทำใส่ลิงก์เฉพาะที่ตำแหน่งแรกเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าในข่าวหนึ่งชิ้นอ้างอิง เดวิด เบ็คแฮม 10 ครั้ง ให้ใส่ลิงก์เฉพาะที่ตำแหน่งแรกที่ปรากฎในข่าวนั้น ที่เดียวพอ
ถ้าลิงก์ที่จัดหมู่รวมกันได้ควรจัดหมู่ไว้ด้วย และควรลิงก์ไปหาหมู่ที่จัดตัวอย่างเช่น ลิงก์เข้ามาที่เพจของเบ็คแฮม เพจที่จัดหมู่ก็คือเพจรายชื่อผู้เล่นของทีมแมนยูนั่นเอง ดังนั้นเราก็ควรมีลิงก์ย้อนกลับไปจากเพจของนักกีฬาไปหาสังกัด ด้วย
"ลิงก์ย้อนกลับ" อันนี้ไม่ใช่ลิงก์ที่มีความหมายเดียวกันปุ่ม "Back" ในเบราเซอร์นะ แค่เป็นลิงก์ย้อนกลับเชิง "อรรถาธิบาย" เช่น เพจของนักกีฬา ลิงก์ย้อนกลับไปก็คือทีมต้นสังกัด และเพจของทีมต้นสังกัดก็จะย้อนกลับไปหาองค์กร จัดการแข่งขัน
นี่ก็คือเล็ก ๆ ในการใช้ Hypertext ก็ทำให้เว็บเราน่าสนใจขึ้น ลองคิดดูนะ ถ้านักข่าวเมืองไทยรายงานข่าวเกี่ยวกับ ประเทศอิสลาเอลกับปาเลสไตน์ ในเนื้อข่าวมีลิงก์มาแสดงว่าประเทศอิสลาเอลและปาเลสไตน์อยู่ตรงไหนของโลก หรือลิงก์ที่แสดงรูปของนายยัสเซอร์ อาราฟัต น่าสนใจกว่าข่าวที่มีตัวอักษรไม่กี่บรรทัดนะ ขอแนะนำเพิ่มเติมว่า รายละเอียดส่วนนี้ควรจะทำเอง ไม่ใช่ไปหาเว็บคนอื่น เพราะจะเสียลูกค้านะ
ทีนี้ส่วน "ปลีกย่อย" ในการนำเสนอคือ เรื่องที่ทำยากแต่ดูเท่ห์ทั้งหลายคือเรื่องการใช้กราฟิก รูปภาพ ระบบเสียง แสง วิดีโอที่เป็นแบบทั้ง off-line และ on-line ที่พูดว่าปลีกย่อยเพราะส่วนนี้มักจะเป็นส่วนที่ตกแต่งให้ดูงดงาม ขอแนะนำ ว่าอย่าทำบ่อย แต่ควรทำให้เป็นเอกลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น เพจของ Yahoo ก็ใช้กราฟิกนิดเดียว และรูปแบบในเพจแรก เปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนน้อยมาก และจริง ๆ ก็ไม่ค่อยใช้กราฟิกเยอะด้วย (คาดว่าต้องการลดความต้องการของกำลัง จากเครื่อง server) ทีนี้ถ้าใช้กราฟิก ควรใช้นามสกุล JPG และ PNG เท่านั้น เพราะ GIF ต้องเสียเงิน
สรุปง่าย ๆ ก็คือ ถ้าไม่จำเป็นอย่าใช้กราฟิกมาก เพราะนึงถึงว่าลูกค้าเรามีเครื่องเก่า ๆ เยอะแยะ ทำสวยมากแล้วเขาใช้ ไม่สะดวกก็เลยไม่อยากเข้าเว็บของเรา เราก็จะเสียโอกาสขายของเท่านั้น
สุดท้าย off-line และ on-line Stream สำหรับเสียงและภาพยนตร์ เริ่มต้นต้องพิจารณาก่อนว่า จำเป็นต้อง on-line หรือไม่ ถ้าทำรายการวิทยุก็คงจำเป็นต้อง on-line เพราะข้อมูลมาใหม่ตลอดเวลา อย่างเช่นเว็บของ Atime media (www.atimemedia.com) อย่างไรก็ตาม การลงทุนสำหรับเว็บลักษณะนี้สูงมาก เพราะถ้าใช้เครื่องขนาดเล็กอาจจะ สามารถรับสมาชิกฟังรายการพร้อมกันได้จำนวนน้อย
ถ้าเป็นเว็บเกี่ยวกับ Stream เหมือนกันแต่ไม่จำเป็นต้องฟังแบบ on-line เช่น รายการบรรยายธรรมของท่านพุทธทาส หรือหลวงพ่อปัญญา จะฟังแบบ on-line มันแพง เช่น ค่าอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ ฟังไม่กี่ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายเท่ากับซีดี ต้นฉบับแล้ว ลักษณะนี้ควรมีทั้ง on-line และ off-line เพื่อคนไทยที่อยู่ต่างประเทศเขาใช้อินเทอร์เน็ตถูก ๆ และหาซื้อ ซีดีไม่ได้จะได้ฟังบ้าง เว็บในเมืองไทยทำ on-line Stream ตอนนี้คงลำบาก เพราะผู้ใช้มีทางเลือกที่ดีกว่าคือเปิดทีวีและ วิทยุฟังเลย ค่าไฟก็ถูกกว่าคอมพิวเตอร์แถมไม่เสียค่าอินเทอร์เน็ต ประโยชน์คงมีเพื่อสร้าง "ภาพลักษณ์" ของบริษัท หรือลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศเท่านั้น ส่งท้ายผู้อ่านคงพอได้แนวคิดในการออกแบบเว็บไซท์ให้ดูดีขึ้นนะ โดยสรุปหลักก็คือ "เราจะได้อย่างไร" และ "ผู้ใช้จะได้ อะไร" เราก็จะสรุปได้เอง ว่า เราจะได้เว็บไซท์ออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร โดยสิ่งที่พิจารณาอย่างแรกคือข้อมูลที่มี เป็นประการสำคัญ จากนั้นก็ค่อยคิดถึงวิธีการนำเสนอ อย่าคิดข้ามขั้นตอนหรือย่อขั้นตอนโดยเริ่มจากเทคโนโลยี มาก่อน เพราะสุดท้ายผลลัพธ์อาจจะผิดจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ตอนแรก



ลักษณะทั่วไปของเอกสารที่ใช้เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต
การเผยแพร่ทาวอินเตอร์เน็ตนั้นจะใช้ภาษาที่เรียกว่า Html หรือเรียกว่า Hyper Text Mark up Language
การสร้างเว็บเพจนั้นสามารถสร้างได้โดยหลายโปรแกรมแต่ในที่นี้เพื่อง่ายต่อการใช้จะขอแนะนำการสร้างโดยใช้โปรแกรม Microsoft Frontpage
และเมื่อตกลงจะใช้โปรแกรมใดแล้วต่อไปก็ต้องหาพื้นที่สร้างโฮมเพจ(web hosting)เมื่อรู้เกี่ยวกับwebpage



การสร้างเว็บเพจโดยใช้โปรแกรมMicrosoft Frontpageนั้นจะสามารถสร้างได้ง่ายเหมือนการทำงานโดยโปรแกรมการพิมพ์ทั่วไปเพราะตัวโปรแกรมจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการเขียนภาษาHtmlให้เรียบร้อยแล้ว
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเขียนเว็บเพจ
1.เราสามารถเขียนเว็บเพจเหมือนกับการพิมพ์งานได้แต่ควรจะรูปแบบเนื้อหาให้เหมาะสม
2.การเปลี่ยนสีพื้นหลังหรือนำรูปมาใส่สามารถหรือจัดการสิ่งต่างๆในหน้าเว็บทำได้โดยที่
- คลิ้กขวาแล้วเลือก Page properties แล้วเลือกสิ่งที่ต้องการจะทำ
3. เราจะต้องเซ็ตข้อมูลของเว็บเพื่อที่จะได้มีคนค้นหาแล้วเข้ามาดูโดยที่ใช้การ
-คลิ้กขวาแล้วเลือก Page properties แล้วเลือกcustomsแล้วมาที่ user variablesแล้วกดaddแล้วใส่ description กับ keywordsที่เราต้องการที่จะให้เป็น
4.การใส่รูปลงไปจะช่วยให้เว็บสวยงามยิ่งขึ้นแต่ไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้คนเข้ามาดูเสียเวลาในการรอนาน
5.เมื่อเราต้องการที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้ามาอยู่ด้วยกันเราจะใช้การHyperlinkเป็นการโยงไปหาสิ่งต่างๆซึ่งเราจะทำโดย
- เลือกสิ่งที่เราต้องการจะใช้เป็นตัวนำไปสู่สิ่งที่เราต้องการแล้วคลิ้กขวาแล้วเลือก Hyperlinkแล้วเลือกสิ่งที่เราต้องการจะไปหา



การ Uploadเว็บเพจนั้นโดยปกติจะใช้โปรแกรมในกลุ่ม Ftpซึ่งในที่นี้จะใช้โปรแกรม
WS_FTPโดยการที่
1. เปิดโปรแกรมQuick connectโดยต้องกรอกข้อมูลให้แก่FTP SERVERที่เราจะเข้าไปคือ
-hostname
-password
-user ID
2.เมื่อเข้าไปแล้วก็ให้เลือกไฟล์แล้วกดUPLOAD ถ้าต้องการเอาออกก็กดDOWNLOAD
3.ต้องนำไฟล์ขึ้นไปให้หมดทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นไฟล์ตัวอักษรหรือไฟล์รูปภาพ





ไม่มีความคิดเห็น:

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ น.ส. วราภรณ์ ว่องวรรณกร อายุ 20 ปี เกิดวันที่ 19 พ.ย. 29 บ้านเลขที่ 3/1 หมู่ 2 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150 กำลังศึกษาอยู่ เอกคอมพิวเตอร์ศึกษา ปี 3

*********_AUM_********

*********_AUM_********